วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

มาเรียนรู้การทำวิจัยกับดร.ทินโน ขวัญดี กันดีกว่า(Researcher)



มาเรียนรู้การทำวิจัย
กับ ดร.ทินโน ขวัญดี กันดีกว่า

(Welcome to Researcher with Dr. Tinno Kwandee)


How did Dr.Tinno Kwandee do research projects?

How did Dr.Tinno Kwandee Thinking Research area?



การวิจัย หรืองานวิจัย คืออะไร?

ทำไมต้องทำงานวิจัย?

วิจัยเขาทำกันอย่างไร?

เมื่อทำแล้ว เขาได้อะไร?

แล้วเขาจะต่อยอดงานวิจัยกันอย่างไร?

ผลของการต่อยอดงานวิจัย ใคร และ ใครได้อะไร?


.........คำถามเหล่านี้ผมได้ยินได้ฟังมาตลอด รู้สึกถึงความกังวลของผู้ที่คิดจะทำ หรือผู้ที่จะเข้ามาอยู่ในแวดวงของการทำวิจัย คำว่านักวิจัย ในความหมายของคนทั่วไปนั้น รู้สึกว่าต้องเป็นคนมีความรู้มาก เป็นนักวิชาการ ใส่แว่นหนาๆ อยู่แบบสมถะ เงียบๆ ชีวิตทุ่มเทอยู่กับห้องทำงาน โต๊ทำงาน และห้องทดลอง อะไรทำนองนั้น

.........ความรู้สึกของคนเห็นว่านักวิจัยมีสถานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี จน ได้แต่กล่อง รางวัล หน้าชื่นตาบาน แต่ตังส์ไม่มีกระเป่าขาด ครอบครัวลำบาก แต่นักวิจัยมีความมุ่งมั่นที่งานทุ่มเทเวลา สมอง สติ ปัญญา องค์ความรู้ ประสบการณ์ต่างที่มี แต่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ แทบจะไม่ได้อะไร

.........ความรู้สึกของเพื่อนร่วมงานที่ไม่ทำงานวิจัย ก็จะพูดจาที่ทำให้ระคายเคือง กระแนะกระแหน มันบ้า มันเพี้ยน มันไม่เต็มร้อย มันไปแล้ว มันเอ็ปนอร์มอน อะไรทำนองนั้น

.........ส่วนความรู้สึกของหัวหน้างานที่ไม่เข้าใจวิธีคิด และเป็นประเภทก้าวไม่ทันโลกาภิวัฒน์ มีมุมมองที่ขาดวิสัยทัศน์ในโลกที่คับแคบ มักจะมองคนทำวิจัย นักวิจัยทั้งหลายว่า ไม่ช่วยทำงาน ทำแต่งานส่วนตน เอาหน้าคนเดียว (มีบ้างเหมือนกันที่นักวิจัยบางคนเป็นอย่างนั้น แต่น่าจะมีแค่ส่วนน้อย)

.......การสะท้อนความรู้สึกเหล่านี้มันมีมาอย่างยาวนาน และรู้สึกอย่างนี้กันทั่วไป หลายๆแง่หลายมุม ในส่วนที่ทำให้รู้สึกที่ดีก็มีมากมาย นักวิจัยมักจะได้รับการชื่นชมเสมอ แต่ก็ถูกลืมอย่างง่ายๆและรวดเร็ว




....ก่อนอื่น เรามาดูที่คำถามแรกการวิจัยหรืองานวิจัยคืออะไร?

การวิจัยคือการค้นหาคำตอบที่ต้องการรู้อย่างเป็นระบบและแบบแผนภายใต้ข้อมูลและองค์ความรู้ที่มีอาจประกอบกับเครือข่าย แนวร่วมที่มีวิธีคิดเดียวกันร่วมกันทำงาน การวิจัยนั้น อาจจะสนองคำตอบแค่ให้หายข้อสงสัย ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ปัญหา รองรับคำถามที่ต่อเนื่อง ต่อยอดธุรกิจ หรืออื่นใดแล้วแต่นักวิจัย หรือผู้สนุบสนุนการวิจัย ต้องการ



ทำไมต้องทำงานวิจัย?

.....ดังที่กล่าวมาข้างต้น มนุษย์มักมีข้อสงสัย มนุษย์มากด้วยปัญหา มนุษย์อยากจะสบาย มนุษย์อยากจะ อย่างโน้น อย่างนี้ ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งทางพุทธศาสนา บอกว่าความอยากนั้นเป็นที่มาของกิเลส แต่ในทางลัทธิขงจื๊อจะสอนให้คนเดินไปข้างหน้า ก้าวไปข้างหน้า พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขงจื๊อใช้กิเลสเป็นแรงขับเคลื่อนมนุษย์ เอากิเลสซึ่งผูกติดกับมนุษย์มาใช้อย่างเหลือเชื่อซึ่งเราจะเห็นได้จากคนจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ที่รับเอาแนวทางและแนวความคิดนี้มาใช้จนกลายเป็นวัฒนธรรมแล้วฝังลึกเข้าไปในสมองจนเป็นจิตสำนึก และกลายเป็นกิจวัฒน์วิถีชีวิตที่ปฏิบัติต่อเนื่อง

......ย้อนมาดูวิถีชีวิตแบบไทยๆ อยู่อย่างสบาย อย่าดิ้นรนให้มาก พอเพียง พอใจในสิ่งที่มี ที่ได้ ไม่ต้องแข่งขันให้มากจะเป็นทุกข์ เมื่อมีทุกข์ ชีวิตก็ไม่มีความหมายอะไร แล้วก็อะไรๆ ทำนองนั้นที่สอนกันมา วิธีคิดของคนไทยถูกปลูกฝังตามหลักศาสนาเช่นกัน เอากิเลสมาเป็นตัวแปรในการสั่งสอนเช่นกัน แต่สอนให้ ลด ละ เลิก ซึ่งกิเลส คนไทย จึงผูกพันและกล่าวอ้างถึง ซึ่งบางครั้ง ตนเองนั้นแหละ ไม่ต่อสู้ดิ้นรน แล้วก็ใช้หลักศาสนามากล่าวอ้าง หรือ กล่าวถึง ความพอเพียง

......แต่โดยหลักความเป็นมนุษย์นั้น กิเลส จะพ่วงมากับการเกิดขึ้นของมนุษย์ (อ้างถึงทฤษฏีของ Abraham Maslow's Theory) มนุษย์นั้นช่างขี้สงสัยนัก มนุษย์นั้น ช่างมากด้วยปัญหานักอะไรทำนองนั้น

.......นั้นคือคำตอบของการทำวิจัย ซึ่งผู้รู้ กูรู คุรุ ทั้งหลายได้กล่าวไว้ว่า อะไรก็แล้วแต่ ถ้าไม่มีปัญหาก็ไม่ต้องทำวิจัย แปลว่าไม่มีปัญหาก็ไม่ต้องทำ ถ้ามีปัญหา แล้วต้องการแก้ไข ก็ให้ทำวิจัย แต่ที่เราเห็นกันอยู่นั้น มีปัญหา เราแก้ปัญหา แล้วแก้ได้ แล้วก็ถามว่า ไม่เห็นต้องทำวิจัยเลย ขอเรียนว่าสิ่งที่แก้ได้นั้นท่านแก้เพราะท่านรู้วิธีแก้ปัญหานั้นแล้ว จึงไม่ต้องทำวิจัย หากท่านไม่รู้วิธีแก้ แล้วก็แก้โดยไม่รู้ เราเรียกวิธีแก้นี้ว่า แก้ปัญหาแบบสุ่มสี่ สุ่มห้า (sampling four sampling five) ซึ่งอันตรายอย่างยิ่ง

........ดังนั้น กระบวนการวิจัย จึงเกิดขึ้น เพื่อต้องการแก้ปัญหาอย่างมีระบบแบบแผน ใช้องค์ความรู้และฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทดลอง ตรวจสอบซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ให้ปรากฏเป็นผลเด่นชัดไม่ว่าจะเป็นไปตามสมมติฐาน หรือไม่ก็ตาม ซึ่งถ้าเรามาดูที่รากของภาษาอังกฤษ คำว่า Research มาจากคำว่า SEARCH ซึ่งหมายถึง การค้นหา เมื่อใส่คำว่า RE ซึ่งแปลว่า ซ้ำ ,การกระทำซ้ำๆ เมื่อเอาคำสองคำมาผสมเข้าด้วยกัน จึงเกิดคำว่า RESEARCH ที่มีความหมายว่า ค้นหาซ้ำๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก




.......วิจัยเขาทำกันอย่างไร

ก่อนอื่นใดให้ตรวจสอบสภาพความพร้อมของนักวิจัยก่อนว่าท่านมีในสิ่งเหล่านี้หรือไม่

1 ต้องรู้ว่าเราสนใจอะไร เราจะทำอะไร เราชอบอะไร และอะไรที่เราต้องการ

2 ต้องรู้ว่าเมื่อเราสนใจแล้วเราทำได้ไหม องค์ความรู้เฉพาะตัวพอเพียงไหม

3 เครือข่าย กลุ่มวิจัยที่จะร่วมทีมกับเรา เขามีความรู้ที่จะร่วมทีมกับเราได้ไหม

4 ทุนวิจัยเราจะหามาจากใหน ส่วนตัวเพื่อสนองความต้องการตนเอง หรือธุรกิจตนเอง หรือร่วมทุนวิจัยด้วยกัน หรือรับจ้างวิจัยจากความต้องการของแหล่งทุนอื่นๆ ทุนวิจัยมากพอในขอบเขตทำวิจัยหรือไม่

5 ข้อจำกัดต่างๆ เช่น ขอบเขตที่กำหนด เวลาในการวิจัย ความเที่ยงตรง แม่นยำของการวิจัยเป็นความสำคัญ และเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

6 ข้อตกลงของผลประโยชน์หลังจากการวิจัย หรือ ข้อตกลงที่เป็นผลผูกมัดในแง่ไม่เป็นผลดีต่างๆ กับนักวิจัย ควรต้องหาข้อตกลงให้ชัดเจนก่อนตกลงในสัญญา สนับสนุนต่างๆ(Agreements)

7 งานวิจัยนั้นส่งผลกระทบกับอะไรบ้าง นักวิจัยพึงระลึกถึงจรรยาบรรณ์นักวิจัย และที่สำคัญอย่างยิ่งงานวิจัยนั้นต้องไม่เป็นผลร้าย ที่กระทบกับ ประเทศ ประชาชน ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และ มวลมนุษยชาติ

8 การสนับสนุน และเตรียมความพร้อมทางด้าน เครื่องมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยี มีเพียงพอต่อการวิจัยหรือไม่ มีอุปสรรค์หรือไม่ในการนำสิ่งสนับสนุนเหล่านี้มาใช้เพื่อการวิจัย

9 ข้อเกี่ยวพันธ์กับกฏหมายที่กำหนดทำได้ หรือทำไม่ได้ หรือมีประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับกฏหมาย


ปัญหาคือ

• สิ่งที่คนทั่วไปรู้สึกว่าเป็นความยุ่งยาก
• ความรู้สึกไม่พอใจระหว่างสภาพที่เป็นอยู่กับสิ่งที่เป็นจริง


เริ่มต้นที่ไหน

การกำหนดปัญหา, หัวข้อเรื่อง
ความรู้/ประสบการณ์ในการทำงาน
การอ่าน ค้น ฟัง สนทนา
สภาพการเปลี่ยนแปลง (นโยบายและทิศทาง)
เริ่ม คิด, สังเกต, ตั้งข้อสงสัย มองสถาพปัญหาที่ปรากฎ ความต้องการที่จะพัฒนา
ข้อสงสัย ประเด็นที่อยากทราบ
ปัญหาที่อยากแก้ไข
สิ่งที่อยากพัฒนา
การที่อยากใช้, แนวปฏิบัติใหม่

เกณฑ์การเขียนชื่อโครงการวิจัย

1. เขียนให้สั้น กะทัดรัด ชัดเจน ( เข้าใจง่าย และ ได้ใจความ)
2. เขียนให้สื่อความหมาย
3. เขียนให้น่าสนใจ และ ทันสมัย
4. ใช้ภาษาหนังสือ
5. ความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด

หลักการตั้งชื่อโครงการวิจัย

X เพื่อบรรยาย (describe) เพื่อสำรวจ (survey)
X เพื่อเปรียบเทียบ (compare)
X เพื่ออธิบาย (explain)
X เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ เพื่อทำนาย (predict)
X เพื่อสังเคราะห์ (synthesize)
X เพื่อประเมิน (evaluate)
X เพื่อพัฒนา และตรวจสอบ

วิธีเขียน Topic) วิจัย

เริ่มเขียนจาก
1 สิ่ง หรือ ตัวแปรที่วิจัย (Variables)= V.
2 ในประชากร (Population)= P.
3 สถานที่ (Area) = A. ต. อ. จ.
4 เวลา (Time) = T ว.ด.ป.


สรุป

1. ทำวิจัยอะไร
2. ทำวิจัยกับใคร
3. ทำวิจัยที่ไหน และ
4. เมื่อไร

ตัวแปรและการวัดตัวแปรในการวิจัย

ประชากร คือ คน สัตว์ สิ่งของ ที่ผู้วิจัยกำหนด สนใจ มุ่งศึกษา
ข้อมูล คือ ข้อเท็จ,จริง ค่าของตัวแปรที่ เก็บมาและวัดค่าในระดับต่างๆ
ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งที่ศึกษา (ประชากร)
และสามารถแปรค่าได้แตกต่างกันในเชิงปริมาณหรือคุณภาพได้(อย่างน้อย 2 ค่า)
เช่น ตัวแปร เพศ มีค่า ชาย หญิง รายได้ xx บาท

1. แบ่งตามค่าที่แปรออกมา 2 ประเภท
1.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative Variables)
1.2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ, คุณลักษณะ (Qualitative Variables)

2.แบ่งตามความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงเหตุเชิงผล
2.1 ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent Variables)
2.2 ตัวแปรไม่อิสระหรือตัวแปรตาม (Dependent Variables)

ตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. ตั้งให้สอดคล้องกับชื่อ และ ปัญหา
2. เขียนให้ชัดเจน
3. เขียนแล้วต้องหาคำตอบ
4. ให้ด้วยคำว่า ''เพื่อ"